วันอังคารที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2555

พัฒนาครูผู้สอนภาษาไทย


อบรมครูภาษาไทย
                    
               โรงเรียนปรีชานุศาสน์  ได้รับการคัดเลือกจาก สช. ให้เป็นศูนย์ภาษาไทย  เป็นผู้ประสานงานในการพัฒนาและการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนภาษาไทย  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  ให้มีความรู้ความเข้าใจ  และมีทักษะการใช้เทคนิคการสอนเชิงการคิด  วิเคราะห์  และสร้างสรรค์  รวมทั้งการใช้ภาษาในการสื่อสาร  ไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ให้เด็กไทยรู้จักคิดวิเคราะห์  คิดเป็น  ทำเป็น  แก้ปัญหาได้  ให้เด็กๆ รักการอ่าน  เป็นคนดี  คนเก่ง  ของสังคมไทยทั้งในปัจจุบันและอนาคต

 ที่ปรึกษา      :

                                                          บาทหลวงจิรพันธ์  สุจิรานุธรรม
                                                          ผู้จัดการโรงเรียนปรีชานุศาสน์      



                                                             ซิสเตอร์จำเนียร    บุญทัน
                                                       ผู้อำนวยการโรงเรียนปรีชานุศาสน์

                                                            
 หัวหน้าศูนย์ภาษาไทย   :    



                                                              นางวิไลวรรณ   กลิ่นหอม
                                                    หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย


               ในระยะแรกนี้ได้ดำเนินการอบรมครูโรงเรียนเอกชน  จำนวน  ๒๗๙  คน  จาก  ๒๖  โรงเรียน  เมื่อวันที่  ๑๕-๑๖  กันยายน  ๒๕๕๕  ในหัวข้อ  การอบรมเชิงปฏิบัติการ  เรื่องหลักสูตรการจัดทำโครงการคลินิกวิชาการ  ในเรื่องเกี่ยวกับเทคนิค  วิธีการ  การจัดการเรียนเชิงคิดวิเคราะห์  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  การสร้างเครือข่ายออนไลน์  และการใช้ศูนย์ฝึกอบรมครูผู้สอนเป็นฐานในการพัฒนาการเรียนรู้

               โครงการของเราจะประสบความสำเร็จไม่ได้เลย    ถ้าไม่ได้รับความร่วมมือจากผู้บริหารของแต่ละโรงเรียน  ณ โอกาสนี้ขอขอบพระคุณผู้บริหารทุกโรงเรียนที่ได้เข้าร่วมโครงการ  โดยส่งคณะครูเข้าร่วมอบรม  ขอบพระคุณมากค่ะ


 























  

 มีเนื้อหาในการอบรมดังนี้

รศ. นลินี  บำเรอราช  :       -     หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
                                             -     วิธีสอนตามหลักภาษาไทย
                                             -     เทคนิคการจัดการเรียนการสอน  การอ่าน  การเขียน
                                             -     การวัดและประเมินผล
ผศ.  ระพิน  ชูชื่น       :       -     การสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ออนไลน์
                                            -     การใช้ศูนย์ฝึกอบรมครูผู้สอนเป็นฐานในการพัฒนาการเรียนรู้
อ. สุภัคมณฑน์  ขุมทรัพย์ดี  :
                                             -     เทคนิคการจัดการเรียนการสอนเชิงคิดวิเคราะห์
                                             -     เทคนิคการจัดการเรียนการสอน  การฟัง / การดู 


๙  ขั้นตอนง่ายๆ ในการทำ  Blog

 












 

               ดิฉันคิดว่าคณะครูทุกท่านคงจะสร้าง  Blog  เป็นแล้วนะคะ  เราจะได้แบ่งปันกันและแชร์ข้อมูลเนื้อหาต่างๆ ทางภาษาไทยใช้ด้วยกัน  เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนภาษาไทยให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
               โอกาสหน้า  คระครูต้องการอบรมภาษาไทยในหัวข้ออะไร  ก็ขอให้แจ้งมาได้เลยนะคะ   ดิฉันจะประสานงานกับทาง สช. ให้ค่ะ  


ขอฝากนิด  : 

                                 การสอนอ่านแนว  S  Q  3  R 
               
                                         มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมรกระบวนการการอ่าน  ๕  ขั้น  ดังนี้
                                                        -  อ่านสำรวจ  (survey - S)
                                                        -  ตั้งคำถามในใจ  (Question - Q)
                                                        -  อ่านในใจ  (Read - R)
                                                        -  พูดตอบตัวเอง (Recite - R)
                                                        -  สร้างโครงเรื่องของบทอ่าน  หรืออ่านทบทวน                            
                                                            (Reconstruct / Review - R)

                                                                    
ฝึกวิทยายุทธ์

                                                                 บานแย้มในหัวใจ
                                                   หลายหลากพันธุ์งงามสดใส
                                                   ดอกไม้แห่งความฝัน
                                                  ให้ความสุขแก่ทุกคน

เฉลย

                                                          ดอกไม้แห่งความฝัน          
                                   หลายหลากพันธุ์งามสดใส
                                   บานแย้มในหัวใจ                          
                                   ให้ความสุขแก่ทุกคน
                

โครงงาน "ภาษาวิบัติเราแก้ได้"  ไดัรับรางวัลชนะเลิศเหรียญทองอันดับ ๑  ระดับประถมศึกษา  ประเภทการทดลอง  ในการแข่งขันประกวดโครงงานของกลุ่มโรงเรียนสังฆมณฑลจันทบุรี    เมื่อวันที่  ๑๑  พฤศจิกายน  ๒๕๕๔

ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
           การใช้ภาาาไทยในยุคปัจจุบันมีการใช้ที่ผิดๆ  และคนส่วนใหญ่มักไม่เห็นความสำคัญของภาษาไทย  ดังนั้นคณะผู้จัดทำจึงได้ทำโครงการ "ภาาาวิบัติเราแก้ได้" ขึ้น  เพื่อให้ผู้ที่ศึกษาเกิดความเข้าใจในการใช้ภาษาไทยได้อย่างถูกต้องและถูกหลักในการใช้  ทำให้การเรียนการสอนไม่น่าเบื่อ  และผู้ที่ศึกษาจะได้ความรู้  มีความกระตือรือร้นที่จะสนใจในการเรียนรู้เกี่ยวกับการใช้ภาาาได้ถูกวิธี

วัตถุประสงค์
          ๑.  เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้ภาาาไทยที่ถูกต้อง
          ๒.  เพื่อนำความรุูที่ได้ไปใช้ให้เหมาะสม
          ๓.  เพื่อสำรวจความพึงพอใจของผลงานที่ได้ทำ

ประโยชน์ที่ได้รับ
         ๑.  ผู้ที่ศึกษาได้รับความรู้เกี่ยวกับการใช้ภาาาไทย
         ๒.  สามารถนำคำภาษาไทยที่ถูกต้องไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน
         ๓.  ผู้ที่ศึกษามีความกระตือรือร้นในการใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้อง
         ๔.  ผู้ที่ศึกษาได้รับความสนุก  และเพลิดเพลิน









สาเหตุที่ทำให้ภาษาไทยวิบัติ

             ภาษาวิบัติ หรือ ภาษาอุบัติ เป็นคำเรียกของการใช้ภาษาไทยที่เปลี่ยนแปลงไป และไม่ตรงกับกับหลักภาษาในด้านการสะกดคำ คำว่า 'ภาษาวิบัติ'    ใช้เรียกรวมถึงการเขียนที่สะกดผิดบ่อย รวมถึงการใช้
คำศัพท์ใหม่หรือคำศัพท์ที่สะกดแปลกไปจากเดิม คำว่า "วิบัติ" มาจากภาษาบาลี หมายถึง พินาศฉิบหาย หรือความเคลื่อนทำให้เสียหาย
            ในประเทศไทย มีการวิพากษ์วิจารณ์ถึงปัญหาเด็กไทยขาดการศึกษารวมถึงปัญหาภาษาวิบัติทำให้เด็กไทย ไม่สามารถใช้ภาษาไทยได้มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ในขณะเดียวกันได้มีการใช้คำว่าภาษาอุบัติแทนที่ภาษาวิบัติที่มีความหมายในเชิงลบ โดยภาษาอุบัติหมายถึงภาษาที่เกิดขึ้นมาใหม่ ตอบสนองวัฒนธรรมย่อย เช่นเดียวกับภาษาเฉพาะวงการที่เป็นศัพท์สแลง    ทั้งนี้ การเปิดใช้พจนานุกรมเพื่อค้นหาคำที่ควรใช้ให้ถูกต้องอาจเป็นทางเลือกที่ดี ทางบัณฑิตยสถานได้กำหนดคำที่ใช้อย่างเป็นทางการหรืออยู่ในรูปแบบมาตรฐาน หากใช้ผิดอาจกลายเป็นคำวิบัติได้ ซึ่งคำวิบัติไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงของภาษาแต่อย่างใด   เป็นเพียงการใช้ภาษาให้แตกต่างจากปกติในช่วงระยะเวลาหนึ่ง หรืออาจใช้จากรุ่นสู่รุ่นไปจนกว่าคำวิบัตินั้นจะหายไปจากสังคมนั้นๆ
           นิธิ เอียวศรีวงศ์ เขียนว่า ภาษาวิบัติเป็นการเปลี่ยนแปลงของภาษาที่ผู้ใหญ่ในสังคมไม่ชอบ แม้ภาษาจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ     แต่ผู้ใหญ่ไม่ชอบให้ภาษาเปลี่ยน   การให้เหตุผลว่าภาษาไทยไม่ควรเปลี่ยนแปลง เพราะเป็นภาษาของชาติที่มีความศักดิ์สิทธิ์ นิธิเห็นว่าเป็นเหตุผลแบบไสยศาสตร์  ไม่ค่อยน่าฟัง   นิธิยังเห็นว่า ปัญหาของภาษาไทยในปัจจุบันคือ การใช้ภาษาไม่มีประสิทธิภาพ เช่น ไวยากรณ์ การใช้ศัพท์หรือการเรียบเรียง เป็นต้น และการไม่ศึกษาภาษาที่เปลี่ยนแปลงไปนี้เองที่จะเป็นเหตุให้เกิด "ภาษาวิบัติ"    เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2553     ช่วงที่มีผู้สร้างภาพยนตร์ไปตั้งเป็นชื่อ  หอแต๋วแตกแหวกชิมิ       
กาญจนา นาคสกุล ราชบัณฑิตประเภทวรรณศิลป์ สาขาวิชาภาษาไทย ระบุ คำว่า "ชิมิ" หากเป็นการใช้ภายในกลุ่มก็ไม่มีปัญหาอะไร   เพราะเป็นการล้อกันเล่นซึ่งเป็นปกติของภาษา และจะเลือนหายไปตามกาลเวลา แต่การนำไม่ใช้เชิงสาธารณะดังที่ไปตั้งเป็นชื่อภาพยนตร์ ถือว่าไม่เหมาะสมนัก    เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2554 กนกวลี ชูชัยยะ เลขาธิการราชบัณฑิตยสถาน   กล่าวว่า สถานการณ์ภาษาไทยในปัจจุบันยังไม่ถึงขั้นวิกฤต และวัยรุ่นใช้ภาษาแช็ตเฉพาะบนอินเทอร์เน็ต   และสื่อสารภายในวัยรุ่นเท่านั้น   ยังไม่พบนำมาใช้ในการเขียนหรือการทำงานแต่อย่างใด


โครงงาน "คำไทยไฉนจึงเขียนผิด"  ไดัรับรางวัลรองชนะเลิศเหรียญทองอันดับ ๑  ระดับประถมศึกษา  ประเภทการทดลอง  ในการแข่งขันประกวดโครงงานของกลุ่มโรงเรียนสังฆมณฑลจันทบุรี    เมื่อวันที่  ๑๕  พฤศจิกายน  ๒๕๕๕



                                               เด็กหญิงเบญญาภา    กุศล
                                   เด็กหญิงสุวพัชร        จิรเวชสุนทรกุล
                                   เด็กหญิงณัฐธิดา        พวงชมภู

โครงงาน "กว่าจะมาเป็นภาษาไทยความงามที่โลกจารึก"  ไดัรับรางวัลรองชนะเลิศเหรียญทองอันดับ ๒  ระดับประถมศึกษา  ประเภทการทดลอง  ในการแข่งขันประกวดโครงงานของกลุ่มโรงเรียนสังฆมณฑลจันทบุรี    เมื่อวันที่  ๑๕  พฤศจิกายน  ๒๕๕๕



                                           เด็กหญิงสิริคุณ           กิตตอาภรณ์พล
                                 เด็กหญิงเจนนิษา       หงษ์ษา

                                 เด็กหญิงชัญญ           ชวนชาติ


คำบุพบท       คือ  คำที่ใช้นำหน้าคำนาม  คำสรรพนาม  คำกริยา  และคำวิเศษณ์  ซึ่งทำหน้าที่เช่นเดียวกับคำนาม  เพื่อเชื่อมคำหรือกลุ่มคำนั้นให้ต่อเนื่องสัมพันธ์กัน
เพลงคำบุพบท
        คำบุพบท  คือคำนำหน้านาม  หรือนำหน้าสรรพนาม  เพื่อบอกตำแหน่งของคำเหล่านั้น  เช่น  นกเกาะบนกิ่งไม้  หรือแมวอยู่ใต้เก้าอี้
คำว่า  บน  หรือ  ใต้  นี้  เป็นคำบุพบทเอย

เพลง  บุพบทเฮฮา
                                                คำร้อง  จริยา  จงจิระสิริ
                                                                 ทำนอง  ทะเลแสนงาม
        เมื่อเรามาร้องเพลง  ให้ครื้นเครงสุขใจ  คำนำหน้าคำนามไง  กับวิเศษณ์  สรรพนาม  อีกกริยานะเธอ  แน่เสมอบอกความ  ทั้ง  เพื่อ  แก่  แด่  ต่อ  สำหรับ  เธอ  เท่านั้น  จาก  จน  ใต้  บน  ยัง  อีกมากมายนะเธอ.....................จบแล้วจ้า.....

คำบุพบท  แบ่งออกเป็น    ชนิด  คือ
              .      บุพบทที่ไม่เชื่อมกับคำอื่น
                ๒.     บุพบทที่เชื่อมกับคำอื่น

๑.  บุพบทที่ไม่เชื่อมกับคำอื่น  ใช้กำหนดคำนาม  หรือสรรพนามที่เป็นคำร้อง
   เรียกหรือทักทาย  เกริ่นให้ผู้ฟังรู้ตัว  ไม่ได้ใช้สำหรับเชื่อมคำหรือข้อความที่ตามมา  ได้แก่   
   คำว่า  ดูกร  ดูก่อน  ดูรา  ข้าแต่  ซึ่งนำมาจากภาษาบาลี  และในปัจจุบันไม่นิยมใช้แล้ว
                ข้าแต่  ใช้นำหน้าคำนามหรือสรรพนามที่ผู้น้อยใช้กับผู้ใหญ่  หรือใช้กับผู้ที่
   เคารพยกย่องนับถือ  เช่น  ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าบรมศาสดา
                ดูกร  ดูก่อน  ดูรา  ใช้นำหน้าคำนามหรือสรรพนามที่ผู้ใหญ่พูดกับผู้น้อย  หรือ 
   ใช้กับผู้ที่เสมอกัน  เช่น
o  ดูกร  เด็กน้อยเจ้าต้องการให้เราช่วยอะไร
o  ดูก่อน  สหายท่านควรพิจารณาให้ถี่ถ้วน

        ๒.  บุพบทที่เชื่อมกับคำอื่น    ใช้เชื่อมคำหรือกลุ่มคำให้ต่อเนื่องสัมพันธ์กัน 
   เพื่อแสดงความหมายต่าง ๆ  คือ
                ๑.  บุพบทนำหน้ากรรม    ได้แก่คำว่า           สู่  ซึ่ง  ยัง  แก่  เช่น
o  คนเราต้องอาศันพึ่งพาซึ่งกันและกัน
o  ท่านนำความเจริญมาสู่บ้านเมือง

๒.  บุพบทนำหน้าบทบอกลักษณะเป็นเครื่องใช้  แสดงอาการต่าง ๆ หรือ
        ติดต่อกัน    ได้แก่  โดย  ด้วย  กับ  อัน  ตาม  เพราะ  เช่น
o  ฉันเห็นกับตาว่าเธอหยิบของไป
o  เขาทำงานโดยไม่เห็นแก่ผู้ใด

๓.  บุพบทนำหน้าคำที่เป็นเจ้าของ  ได้แก่คำว่า       แห่ง  ของ  ใน  เช่น
o  วีระเป็นตัวแทนเยาวชนแห่งประเทศไทย
o  พระอภัยมณีเป็นวรรณคดีที่มีชื่อเสียงของสุนทรภู่
o  พัดลมนี้เป็นของฉัน
o  ผัดไทยเป็นอาหารของคนไทย
๔.  บุพบทนำหน้าบทอื่นในฐานะเป็นผู้รับ  ได้แก่คำว่า                                                   แก่  แด่  ต่อ  เพื่อ  เฉพาะ  สำหรับ    เช่น
o  นารีตั้งใจเรียนหนังสือเพื่อแม่
o  แม่ทำแกงจืดสำหรับลูกและแกงเผ็ดสำหรับพ่อ
o  สมยศซื้อดอกไม้ให้แก่สมหญิง
o  ของชิ้นนี้สำหรับเธอ
o  เขาบวชเพื่อคุณพ่อและคุณแม่
๕.  บุพบทนำหน้าบทอื่นเพื่อบอกที่มาหรือสาเหตุ    ได้แก่คำว่า   แต่  จาก  กว่า  เหตุ  ตั้งแต่  เช่น
o  คุณซื้อของมาจากตลาดสด
o  เขาเดินมาตั้งแต่โรงเรียนถึงบ้าน
o  เกิดเหตุไฟไหม้บ้านพัก
o  ตั้งแต่เธอมาอยู่ที่นี่เขามีอาการดีขึ้น
o  อำไพเก็บมะม่วงจากต้น
๖.  บุพบทนำหน้าบอกเวลา       ได้แก่คำว่า     เมื่อ  ตั้งแต่  จน  เช่น
o  ฝนตกตั้งแต่เช้าจนบ่าย
o  เขาคุยกันจนดึก
o  ฉันรอเธอตั้งแต่เที่ยงจนเย็น
o  เมื่อเธอมาเขาก็ไป
o  เด็ก ๆ เล่นจนดึก
๗.  บุพบทนำหน้าบอกสถานที่  ได้แก่  ใน  ใต้  บน  ริม  ชิด  ที่  ข้าง  ใกล้
         เช่น
o  เขาขายของอยู่ข้างโรงหนัง
o  คุณพ่อทำงานที่ธนาคารออมสิน
o  เขายืนชิดผนัง
o  อุดมทำงานที่มหาวิทยาลัยบูรพา
o  แจกันดอกไม้อยูบนโต๊ะ

 ฝึกสมองประลองปัญญา  ชุดที่ ๑
เรื่อง  คำบุพบท
คำชี้แจง  :  เลือก   x  คำตอบที่ถูกที่สุด
      1. ข้อใดใช้คำบุพบทผิด
ก.   เราไปกันสองต่อสอง 
ข.   ของนี้เหมาะสำหรับผู้หญิง        
ค.   เขายื่นคำร้องต่อเจ้าหน้าที่ศาล
ง.   แม่ถวายเครื่องไทยทานแก่พระสงฆ์
   2.    ข้อใดใช้คำบุพบทได้ถูกต้อง
ก.   พ่อไปตลาดกับแม่ 
ข.   ครูให้รางวัลกับนักเรียน 
ค.   ฉันเห็นมาต่อตาทีเดียว
ง.   ทำบาปย่อมได้รับผลแห่งบาป 
3.   แก่  ในข้อใดเป็นคำบุพบท
      ก.   ขนมนี้แก่น้ำตาล
          ข.   บุหรี่ให้โทษแก่ร่างกาย
ค.   คนแก่ชอบเล่าเรื่องในอดีต
ง.   ชายคนนั้นแก่ชราน่าสงสาร
   4.  ข้อใดตัดคำบุพบทออกก็ยังได้ใจความ
      ก.   พ่อกลับมาแต่วัน
ข.   ฉันอยู่ที่บ้านทุกวัน
ค.   น้ำตกมาจากยอดเขา
ง.   ทุกคนอยู่ใต้กฎหมาย
 5.  คำบุพบทในข้อใดทำหน้าที่ต่างจากข้ออื่น
ก.   อย่านอนใต้โต๊ะ  
 ข.  โปรดนั่งห่างฉันหน่อย
ค.   เดินทางโดยรถไฟเถิด
ง.  ไปเล่นที่สนามเด็กเล่นนะ          
6.  กับ ในข้อใดเป็นคำบุพบท   
   ก.   ไก่ทำกับข้าว
   ข.   ผมอยากไปกับคุณ     
   ค.   กวางติดอย๋ในแร้ว     
   ง.   เจี๊ยบกับจิ๋มไปเที่ยวน้ำตก         
7.  ใต้  ในข้อใดไม่ใช่คำบุพบท 
   ก.   คุณลุงเป็นคนปักษ์ใต้
   ข.   คุณแม่บ่มกล้วยไว้ใต้โต๊ะ
   ค.   บ้านคุณปู่มีห้องใต้หลังคา
   ง.   พี่อ่านหนังสือเรื่องใต้เงาจันทร์
8.  ข้อใดไม่มีคำบุพบท
   ก.   เลือกที่รัก  มักที่ชัง
   ข.   สวรรค์ในอก  นรกในใจ
   ค.   วัวเห็นแก่หญ้า  ขี้ข้าเห็นแก่กิน
   ง.   น้ำร้อนปลาเป็น  น้ำเย็นปลาตาย
9.  ข้อใดมีคำบุพบท
   ก.   ปลาลอยน้ำมา
   ข.   ปู่เลี้ยงแมวสีสวาท
   ค.   แม่กินข้าวกับแตงโม
   ง.   จินตราเป็นคนอิสาน      
10.  ข้อใดมีคำบุพบทไม่เข้าพวก
   ก.   บน  ริม  ข้าง        ข.   ของ  แห่ง  แก่  
   ค.   เฉพาะ  แต่  สำหรับ    ง. ราว  ประมาณ  เกือบ
 
 ฝึกสมองประลองปัญญา  ชุดที่ ๒
เรื่อง  คำบุพบท  
คำชี้แจง  :  เลือก   x  คำตอบที่ถูกที่สุด

      1. คำบุพบทในข้อใดไม่เข้าพวก
ก.   เพื่อ                 ข.  เมื่อ 
ค.   ตั้งแต่               ง.  จนกระทั่ง 
   2.    ข้อใดใช้คำบุพบทได้เหมาะสมที่สุด
ก.   จงทำให้เสร็จโดยเร็ว 
ข.   ท่านตื่นเมื่อเช้าทุกวัน    
ค.   คุณมาไม่ตามเวลาอีกแล้ว
ง.   คนจีนกินอาหารโดยตะเกียบ 
3.   กินอยู่.....ปาก  อยากอยู่.....ท้อง  ควรใช้คำบุพบทใคเติมในช่องว่าง
      ก.   แต่                   ข.   แก่
ค.   กับ                   ง.   แด่
   4.  เธอกับเขาต่างกัน........ฟ้า........ดิน
ควรใช้คำบุพบทใคเติมในช่องว่าง
      ก.   ดัง  กับ             ข.  ราว  กับ
ค.   ดุจ  และ            ง.   เหมือน  และ
 5.  ข้อใดใช้คำบุพบทผิด
ก.   บ้านฉันอยู่ริมคลอง      
 ข.  ผมฆ่าเขากับมือของผมเอง
ค.   วินัยมีบ้านหลังใหญ่เหมือนวัง
ง.   ขอให้คุณออกไปนอกห้องก่อน  
   6.  คำบุพบท คือ  ความหมายของข้อใด  
ก.  เป็นการเชื่อมคำและข้อความให้ชัดเจน
         
   ข.  เป็นการรวมคำและข้อความให้ต่อเนื่อง
   ค.  เป็นการต่อคำและข้อความให้ชัดเจน  
   ง.   เป็นการแสดงความสัมพันธ์ระหว่างคำ
        ข้อความให้ต่อเนื่องและสัมพันธ์กัน    
7.  ข้อใดมีคำบุพบท 
   ก.   คนแก่เดินช้า
   ข.   ฉันยืนแต่เขานั่ง
   ค.   คนร้ายถูกตีด้วยไม้
   ง.   ทิศใต้คือทิศทักษิณ
8.  ร้องเรียน....ผู้ใหญ่  ควรเติมคำบุพบทใด
   ก.   กับ                ข.   แก่
   ค.   แด่                ง.   ต่อ
9.  ข้อใดเป็นคำบุพบทนำหน้าคำสรรพนาม
   ก.   ขอให้ไปโดยสวัสดี
   ข.   เรื่องนี้ไม่เกี่ยวกับเธอ
   ค.   โปรดมอบของมากับผู้ถือหนังสือ
   ง.    โปรดให้ความสงเคราะห์แก่คนชรา     
10.  ข้อใดใช้บุพบทผิด
   ก.   ถวายอาหารแด่พระสงฆ์
   ข.   แสดงคารวะแด่ท่านที่เคารพ  
   ค.   อาจารย์ใหญ่ให้โอวาทแด่นักเรียน   
   ง.   ถวายพระพรแด่พระบาทสมเด็จพระ
        เจ้าอยู่หัว

 ฝึกสมองประลองปัญญา  ชุดที่ ๓
เรื่อง  คำบุพบท
คำชี้แจง  :  เลือก   x  คำตอบที่ถูกที่สุด

      1. ที่  ในข้อใดเป็นคำบุพบท
ก.   ป้ามีที่หลายไร่
ข.   ที่แถวนี่ราคาแพง
ค.   เขาไปรอเธอที่บ้าน                 
ง.   ที่เหล่านี้เป็นของคุณย่า 
   2.    สำนวนใดมีคำบุพบท
ก.   ดอกพิกุลร่วง 
ข.   น้ำขึ้นให้รีบตัก   
ค.   ตาบอดได้แว่น
ง.   งมเข็มในมหาสมุทร 
3.   ข้อใดไม่มีคำบุพบท
      ก.   คุณพ่อยื่นคำร้องต่อศาล
      ข.   เธอชอบสวมเสื้อสีอะไร
ค.   นักเรียนมาโรงเรียนตั้งแต่เช้า
ง.   คุณยายซื้อของขวัญให่แก่หลาน ๆ
   4.  ข้อใดใช้คำบุพบทไม่ถูกต้อง
      ก.   ทุกคนอยู่ใต้กฎหมาย
      ข.   คุณตานอนอยู่บนเตียง
 ค.   เขาเห็นมากับตาของเขา
 ง.   คุณแม่มอบขนนมแด่เด็ก ๆ
 5.  ประโยคใดมีคำบุพบท
ก.   แม่ทำงานหนักเพื่อลูก   
ข.  เขาเป็นเพื่อนที่ดีของฉัน
ค.   ภาพยนตร์เรื่องนี้สนุกดี
        ง.   มีเหตุการณ์ประหลาดเกิดขึ้น               
6.  แก่  ในข้อใดเป็นคำบุพบท   
   ก.  รวมมิตรถ้วยนี้แก่น้ำตาล          
   ข.  กัญชาให้โทษแก่ร่างกาย
   ค.  หญิงคนนั้นแก่ชรามากแล้ว
   ง.  คนแก่ชอบเล่าเรื่องราวในอดีต    
7.  แก่  ในข้อใดเป็นคำบุพบท 
   ก.   เด็กแก่แดดจะไม่น่ารัก
   ข.   ใบไม้ที่สวยต้องมีสีเขียวแก่
   ค.   คุณย่ามีศรัทธาแก่กล้ามาก
   ง.   ฉันมอบของขวัญแก่เพื่อน ๆ
8.  ข้อใดไม่มีคำบุพบท
   ก.   ถุงเท้าคู่นี้ของฉันเอง
   ข.   วิไลวรรณไปเที่ยวภาคเหนือ
   ค.   ไม้บรรทัดวางอยู่บนโต๊ะทำงาน        
   ง.   พนักงานมอบของขวัญแด่ท่านประธาน
9.  ข้อใดไม่มีคำบุพบท
   ก.   วันนี้อากาศร้อนมาก ๆ
   ข.   นกแก้วบินอยู่บนท้องฟ้า
   ค.   ฉันเห็นมากับตาว่าเธอไปที่นั่น
   ง.    ชูใจขยันอ่านหนังสือเพื่อผลการเรียนดี     
10.  ข้อใดไม่มีคำบุพบท
   ก.   พระอภัยมณีเป็นวรรณคดที่มีชื่อเสียง
 
 ข.   วีระเป็นตัวแทนเยาวช 




 



















































1 ความคิดเห็น:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ไม่มีใครเดิ้ลเกินครูอี๊ด