วันจันทร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2555

เสริมสร้างประสบการณ์

กิจกรรมการเรียนการสอน      


กิจกรรมการเรียนการสอนนอกห้องเรียน




ประกวดท่องคำกลอนในวรรณคดีไทยที่ตนเองสนใจ  หน้าเสาธงในตอนเช้า




นำนักเรียนเข้าร่วมกินกรรมไหว้ครู  กตุญญุตา  กตเวทิตา




ฝึกซ้อมการแสดงให้นักเรียน  เนื่องในวันสุนทรภู่



จัดกิจกรรมให้นักเรียนได้แสดงความกตัญญูต่อครูผู้มีพระคุณ


จัดทำโครงการเทิดเกียรติบรมกวีสุนทรภู่  เพื่อให้นักเรียนได้แสดงความกตัญญู
ต่อผู้มีพระคุณในวงวรรณกรรมไทย




เน้นสอนให้นักเรียนได้แสดงออกในทางที่ถูกต้อง  และใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์

ส่งเสริมให้นักเรียนกล้าแสดงออก  โดยจัดการประกวดการแต่งกายเหมือนตัวละครในวรรณคดีไทย
มอบรางวัลให้กับนักเรียนที่ชนะการแข่งขันทักษะต่างๆ ทางภาษาไทย

ฝึกให้นักเรียนได้แสดงออกทางด้านการพูดอย่างมีเหตุผล  โดยจัดการแข่งขันการดต้วาที


ส่งเสริมให้นักเรียนได้แสดงออกทางด้านนาฏศิลป์ไทย  เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้เรียน
ส่งเสริมให้นักเรียนได้แสดงออกทางการร้องเพลงลูกทุ่งไทย
  เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้เรียน

ส่งเสริมให้นักเรียนได้แสดงออกทางการร้องเพลงลูกทุ่งไทย  แและฝึกร้องเพลงฉ่อย
  เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้เรียน

ส่งเสริมให้นักเรียนได้แสดงออกทางด้านนาฏศิลป์ไทย  เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้เรียน


นำนักเรียนทัศนศึกษาพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ณ กรุงเทพมหานคร

นำนักเรียนทัศนศึกษาพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ณ กรุงเทพมหานคร


นำนักเรียนทัศนศึกษาพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ณ กรุงเทพมหานคร

จัดแสดงสื่อ/อุปกรณ์ประกอบการสอน  ในงานวิชาการของโรงเรียน

ส่งเสริมให้นักเรียนกล้าแสดงออก  โดยจัดให้นักเรียนได้เล่านิทานเป็นทีม



ส่งเสริมให้นักเรียนได้แสดงความสามารถและฝึกความเชื่อมั่นในตนเอง
โดยจัดประกวดการแต่งกายเหมือนตัวละครในวรรณคดีไทย

ส่งเสริมให้นักเรียนกล้าแสดงออก  โดยจัดให้นักเรียนได้เล่านิทานเป็นรายบุคคล


ส่งเสริมให้นักเรียนได้แสดงความสามารถ  ในการเล่านิทานเป็นรายบุคคล



ส่งเสริมและฝึกให้นักเรียนเป็นพิธีกรดำเนินรายการต่างๆ ในงานกิจกรรมวันสุนทรภู่




จัดนิทรรศการแสดงสื่อการเรียนการสอน  และผลงานของนักเรียน









จัดนิทรรศการสื่อ/อุปกรณ์ประกอบการสอน  เป็นแหล่งเรียนรู้ให้นักเรียนศึกษาหาความรู้
ได้ด้วยตนเอง





เน้นสอนให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ตรง 
โดยจัดให้นักเรียนได้เล่นเกมบิงโกตัวละครในวรรณคดีไทย



ส่งเสริมความสามารถของนักเรียน  โดยสอนให้นักเรียนร้องเพลงลูกทุ่งไทย
และส่งเข้าประกวดในงานต่างๆ ได้รับรางวัลชนะเลิศ



จัดทำโครงการคลินิกหมอภาษาพัฒนาเยาวชน  เพื่อแก้ไขการอ่านออกเสียงที่
ไม่ถูกต้อง  และฝึกให้นักเรียนรักการอ่าน




ส่งเสริมนักเรียนที่อยู่ในความดูแลเข้าประกวด  การประดิษฐ์ชุดเสื้อผ้าจากวัสดุเหลือใช้
ได้รับรางวัลชนะเลิศ





ขอขอบพระคุณ...คุณพ่อธงชัย  อนันตกูล  อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์
ที่สละเวลามาเป็นประธานเปิดงานวันพ่อแห่งชาติ  ๕  ธันวามหาราช
ประจำปี ๒๕๕๕

























ขอขอบพระคุณ...คุณพ่อของคุณลูก  ป. ๖/๖  ทุกๆ ท่าน
ที่สละเวลามาเป็นเกียรติและมาให้กำลังใจกับลูกๆ  ในงานวันพ่อแห่งชาติ 
๕  ธันวามหาราช  ประจำปี ๒๕๕๕





ปีการศึกษา  ๒๕๕๖            ได้จัดกิจกรรมให้กับผู้เรียน  ดังนี้








































คำสันธาน     คือ  คำที่ใช้เชื่อคำ  ข้อความ  หรือประโยค
ให้ติดต่อเป็นเรื่องเดียวกัน  หน้าที่ของคำสันธาน  มีดังนี้
     ๑.     เชื่อมคำต่อคำ
                ๒.     เชื่อมประโยคต่อประโยค
                ๓.     เชื่อมข้อความกับข้อความ
๑.  เชื่อมคำต่อคำ  คือการใช้สันธานเชื่อมคำกับคำที่เป็นชนิดเดียวกัน    เช่น
         ตากับยายอยู่ด้วยกันตามลำพัง
                เป็ดและไก่เป็นสัตว์ปีกที่ให้ประโยชน
๒.  เชื่อมประโยคต่อประโยค  เช่น
               น้ำท่วมเพราะฝนตกหนัก
                เธอชอบดื่มน้ำชาหรือกาแฟ
๓.  เชื่อมข้อความกับข้อความ  เช่น
 -  แดงเกิดมาเป็นคนอาภัพ  พ่อแม่เสียชีวิตตั้งแต่เขายังเด็ก
มิหนำซ้ำเขายังพิการเสีย  ด้วยเหตุนี้  เพื่อน ๆ จึงสงสารและเห็นใจเข
-  เนื่องจากดิฉันป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่  มีอาการหนาวสั่นปวด
             ศีรษะและปวดเมื่อยตามตัวมาก  ไม่สามารถมาเรียนตามปกติได้ 
             ฉะนั้น   ดิฉันจึงขอลาป่วยเป็นเวลา    วัน
ลักษณะของคำสันธาน
๑.  คำสันธานอาจจะวางไว้หน้าประโยค  ท้ายประโยค 
หรือกลางประโยคก็ได้
๒.  คำสันธานอาจใช้คำ ๆ เดียว  คำหลายคำ 
หรือคำที่แยกออกจากกันก็ได้  เช่น  เพราะ.....จึง  , 
กว่า.....ก็
๓.  ประโยคที่มีคำสันธาน  สามารถแยกเป็นประโยคย่อย
ได้ตั้งแต่  ๒ ประโยคขึ้นไป
                                  เพลงคำสันธาน
        คำสันธาน  คือคำเชื่อมคำหรือข้อความ  เกิดความงดงามเอา 
  ข้อความมาเชื่อมกัน  บอกความคล้อยตาม  หรือบอกความขัดแย้งกัน     
  ต้องใช้สันธานนั้นมาเชื่อมข้อความ

                                เพลง  คำสันธาน
                                                       คำร้อง  จริยา  จงจิระสิริ
                                                                 ทำนอง  ฟลอเฟื่องฟ้า
        เรื่องคำสันธานที่ใช้จงจำเอาไว้เราใช้เชื่อมคำ  เชื่อมข้อความเพื่อน้อมนำ  อีกประโยคนะงามขำ  เพื่อทำให้เป็นเรื่องเดียว
        แบ่งได้พวกเราจงรู้  คล้อยตามกันอยู่แม้ไม่ข้องเกี่ยว  อีกอย่างขัดแย้งเชียว 
 มีแต่คั่นไว้เทียว  ไม่เหลียวไปดูผู้ใด  เลือกเพียงอย่างนั้นก็มีอยู่  ใช้หรือนะหนู  เช่นจะอยู่หรือจะไป  ทั้งสันธานสุดท้ายไง  ให้จำใส่ใจเป็นเหตุและผลกัน  ขอให้พวกเราจำมั่น  สันธานใช้กันอยู่ทุกวี่วัน  เพื่อเด็กไทยร่วมสร้างสรรค์  ศึกษาทุกสิ่งอันมุ่งมั่นพัฒนาชาติไทย

คำสันธาน  แบ่งการเชื่อมคำ  ข้อความ  หรือประโยคให้เป็นเรื่องเดียวกัน  ดังนี้
        ๑.  เชื่อมข้อความที่คล้อยตามกัน  ใช้คำว่า  กับ ,  และ  ,  พอ.....ก็  ,
ทั้ง.....และ  เช่น
§  พอเธอมาเขาก็ไป
§  พ่อและแม่ไปวัด
§  ทั้งพี่และน้องมาพร้อมกัน
๒.  เชื่อมข้อความที่ขัดแย้งกัน  ใช้คำว่า  แต่  ,แต่ว่า  ,กว่า.....ก็  ,  แต่ทว่า  เช่น
§  ฉันชอบเล่นปิงปอง  แต่น้องชอบเล่นเกม
§  เขาเรียนไม่เก่ง  แต่ทว่านิสัยดี
๓.  เชื่อมข้อความที่ให้เลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง  ใช้คำว่า  หรือ ,  ไม่.....ก็,    มิฉะนั้น.....ก็  เช่น
§ เธอจะเล่นหรือเรียน
§ ไม่สุดา ก็ สารภีต้องถูกลงโทษ
๔.  เชื่อมข้อความที่เป็นเหตุเป็นผลกัน  ใช้คำว่า  เพราะ  , 
เพราะฉะนั้น  ,   จึง  ,   เพราะ.....จึง   
เพราะฉะนั้น.....จึง  เช่น
§  นักโทษหนีจากคุก  จึงถูกจับ
§  ม้าไม่วิ่ง เพราะ ขาหัก
ข้อสังเกต
        ๑.  คำสันธานในภาษาไทยนั้นมีมาก  และต่างชนิดกัน  ต้องพิจารณาให้ถี่ถ้วน  จึงจะทราบได้ว่าอยู่ในชนิดใด
        ๒.  คำบางคำอาจใช้เป็นคำสันธาน  หรือคำบุพบทก็ได้  ต้องอาศัยการพิจารณาจากรูปประโยค  เช่น
§  พ่อกับแม่ไปต่างประเทศ                (คำสันธาน)
§  เธอทำอย่างนั้นเหมือนเล่นกับไฟ      (คำบุพบท)

มาลับสมองกันดีกว่า
แบบฝึกทักษะชุดที่ ๑ 
คำชี้แจง  :  เลือก   x  คำตอบที่ถูกที่สุด

      1. การเชื่อคำ  ข้อความ  และประโยค
          เป็นเนื้อความเดียวกัน  คือข้อใด
ก.   คำอุทาน       
ข.   คำบุพบท
ค.   คำสันธาน      
ง.  คำวิเศษณ์    
2.  พอเขานอน  เธอก็มา  คำใคคือ 
     คำสันธาน
ก.   พอ.....ก็      
ข.   เขา.....ก็      
ค.   เธอ.....ก็     
ง.   พอ.....เธอ 
 3.  ข้อใดเป็นสันธานขัดแย้ง
     ก.   ถึงเขาจะผอมแต่เขาก็แข็งแรง
     ข.   เธอกับฉันอยู่โรงเรียนเดียวกัน
ค.   เมื่อกรรณิการ์พูดจบเราก็ปรบมือ
ง.   นางสิบสองเป็นลูกเศรษฐีหรือนางยักษ์
     4.  แต่  ในข้อใดไม่เป็นคำสันธาน
     ก.   นักเรียนไปโรงเรียนแต่เช้า
     ข.   เขาเป็นครู  แต่เขาไม่รักเด็ก
ค.   คุณพ่อไปทำงานแต่คุณแม่อยู่บ้าน
ง.   ระพีชอบกีฬา  แต่ไม่ชอบร้องเพลง
 5.  เสื้อผ้าอันมีราคาไม่ควร........นักเรียน
ก.   แก่            
ข.  กับ
ค.   ต่อ            
ง.  ด้วย    
     6.  ข้อใดใช้คำสันธานเชื่อมความเลือกอย่าง
         ใดอย่างหนึ่ง   
       ก.  พอครูเข้ามานักเรียนก็เงียบ          
       ข.  วันหนึ่ง ๆ เราเห็นเขาไม่ทำก็เล่น
       ค.  เขาวิ่งมากแต่ว่าไม่เหนื่อยเลย
       ง.  เพราะไม่มีเงินลงทุนเขาจึงไม่ค้าขาย    
7.  .....เธอจะตาบอด.....ก็ไม่ได้หมายความว่า
     ชีวิตจะมืดมน  ควรเติมสันธานในข้อใด
   ก.   กว่า.....จึง               
   ข.   ถึงแม้.....แต่
   ค.   หาก.....ต่อ              
   ง.  แม้น.....และ
8.  ข้อใดไม่มีคำสันธาน
   ก.   พ่อทำงานเพื่อครอบครัว
   ข.   เธอจะเรียนหรือเธอจะเล่น
   ค.   ผมห้ามเขาแล้วแต่เขาไม่ฟัง   
   ง.   น้ำระบายไม่ได้เพราะท่ออุดตัน
9.  เราอยากเรียนในระดับสูง ๆ
.....ต้องขยันเรียน ควรเติมคำใด
   ก.   เพราะ           
   ข.   แต่
   ค.   มิฉะนั้น         
   ง.  เพราะฉะนั้นจึง
10.  ข้อใดใช้สันธานต่างจากข้ออื่น
   ก.  ไม่เธอก็ฉันต้องไปตลาด
   ข.  เธอจะต้องอ่านหนังสือมิฉะนั้นจะสอบตก
   ค.  เธอจะไปที่ทำการไปรษณีย์หรือจะไป
        ตลาด
   ง.  พอประธานเข้ามาทุกคนก็ลุกขึ้นยืนทำ
      ความเคารพ
 
มาลับสมองกันดีกว่า
แบบฝึกทักษะชุดที่ ๒
คำชี้แจง  :  เลือก   x  คำตอบที่ถูกที่สุด
      1. ข้อใดมีคำสันธาน
ก.   เธอจะเรียนต่อหรือทำงาน              
ข.   เขาออกจากบ้านตั้งแต่เช้า
ค.   เขาถวายอาหารแด่พระสงฆ์            
ง.  เธอจะทำเช่นนั้นก็แล้วแต่เธอ         
2.  พยานให้การ.....ศาลว่า  เธอเห็น.....
ตาว่าจำเลยขโมยขของมา.....ร้าน 
ควรเติมคำสันธานในข้อใด
ก.   กับ  ด้วย  แต่   
ข. ต่อ  กับ  จาก
ค.   โดย  กับ  จาก  
ง. แต่  ด้วย  แห่ง 
 3.  ข้อใดมีคำสันธานเชื่อมความคล้อยตามกัน
      ก.  พอคุณพ่อสวดมนต์เสร็จก็เข้านอน
      ข.  เพราะมานีป่วยเขาจึงไม่มาทำงาน
ค.  นักเรียนต้องขยันเรียนมิฉะนั้นจะสอบตก
ง.กว่าคุณจะดื่มกาแฟแก้วนั้นมันก็เย็นชืดแล้ว
     4.  ข้อความใดมีคำสันธาน
     ก.   สุนัขสีดำนอนอยู่บนพรม
     ข.   ช้อนกับซ่อมเป็นของคู่กัน
ค.   รายงานฉบับนี่ฉันทำมากับมือ
ง.   นักเรียนทุกคนมีหน้าที่เรียนหนังสือ
 5.  ข้อความใดใช้คำสันธานต่างจากข้ออื่น
ก. สุวนันท์ขาดเรียนเพราะเป็นไข้หวัด
ข. เพราะสุดาขนัยเรียนจึงสอบได้คะแนนดี
ค. สายใจเป็นเด็กดีเพราะฉะนั้นทุกคนจึง 
    รักเขา       
        ง.  ชายคนนั้นมีสติปัญญาดีแต่ทว่าขาด
            ความซื่อสัตย์    
6.  กว่าถั่วจะสุกงาก็ไหม้  คำที่ขีดเส้นใต้
      เป็นคำชนิดเดียวกับข้อใด   
   ก.  เขานั่งริมน้ำ       
   ข.  เธออย่ากินน้ำใต้ศอก
   ค.  สร้างวิมานในอากาศ
   ง.  พี่กินข้าวแต่น้องกินเก๋วยเตี๋ยว    
7.  ข้อความใดไม่มีคำสันธาน
   ก.   กว่าน้องจะมารถก็ออกพอดี
   ข.   นักเรียนบ้างก็เรียนบ้างก็เล่น
   ค.   คุณลุงกับคุณป้าไปธุระนอกบ้าน       
   ง.   เธอไม่ทำงานมิฉะนั้นจะถูกหักเงินเดือน
8.  .....เขาจน  เขา.....มีน้ำใจ  ควรเติม
     คำสันธานในข้อใด
   ก.   ถึง.....แต่      
   ข.  เพราะ.....จึง
   ค.   ถ้า.....จะ       
   ง.  แม้.....ก็
9.  คำสันธานในข้อใดต่างจากข้ออื่น
   ก.   หรือ             
   ข.   กับ
   ค.   พอ.....ก็       
   ง.   ทั้ง.....และ
10.  คำสันธานในข้อใดต่างจากข้ออื่น
   ก.  จึง                
   ข.  เพราะ
   ค.  กว่า.....ก็          
    ง.  เพราะฉะนั้น.....จึง

มาลับสมองกันดีกว่า
แบบฝึกทักษะชุดที่ ๓
คำชี้แจง  :  เลือก   x  คำตอบที่ถูกที่สุด
      1. คำสันธานคืออะไร
ก.   คำที่แสดงอาการของนาม
ข.   คำที่ใช้เชื่อมใประโยคกับประโยค
ค.   คำที่เชื่อมโยงคำให้สัมพันธ์กัน        
ง.   คำขยายคำนาม  คำสรรพนาม       
2.  คำในข้อใดเป้นคำสันธานทุกคำ
ก.   ท่าน เธอ เรา เขา   
ข. คง พึง ควร สำหรับ
ค.   และ แต่ หรือ เพราะ 
ง. บน ล่าง ใต้ เหนือ 
 3.  ตาและยายรักหลาน ใช้คำสันธานอย่างไร
     ก.  เชื่อมคำกับคำ
     ข.  เชื่อมคำนามกับคำกริยา
ค.  เชื่อมประโยคกับประโยค
ง.  เชื่อมข้อความกับข้อความ
     4.  มาลีเรียนรัฐศาสตร์แต่สีดาเรียน 
         เศรษฐศาสตร์  ใช้คำสันธานอย่างไร 
     ก.   เชื่อมคำกับคำ
     ข.   เชื่อมกลุ่มคำกับกลุ่มคำ
ค.   เชื่อมประโยคกับประโยค
ง.   เชื่อมคำนามและคำสรรพนาม
 5.  ข้อความใดมีการใช้คำสันธาน
ก.  ปรากฏดวงดาวบนท้องฟ้า
ข.  ของขวัญนี้สำหรับวิพรรณี
ค. ปลาตัวใหญ่กินปลาตัวเล็ก
        ง.  ถึงเขาจะปากร้ายแต่ใจเขาดี
6.  สำนวนใดเมื่อเติมคำสันธานแล้ว  เนื้อความ 
     มีลักษณะขัดแย้งกัน   
   ก.  ขิงก็รา  ข่าก็แรง            
   ข.  น้ำน้อย  ย่อมแพ้ไฟ
   ค.  ปากหวาน  ก้นเปรี้ยว
   ง.  รักวัวให้ผูก  รักลูกให้ตี    
7.  จากข้อ  6  ถ้าเติมสันธาน  ข้อความใด 
     มีลัษณะคล้อยตามกัน
   ก.   ก. และ ค.               
   ข.  ก. และ ข.
   ค.   ก. และ ง.               
   ง.  ข. และ ค.
8.  ข้อความใดมีคำสันธาน
   ก.   ใต้ต้นไม้ใหญ่
   ข.   จ้องจะจิกแมลง
   ค.   และกระโดดไปมา
   ง.   กบได้ยินเสียงเขียดร้อง
9.  คำสันธานในข้อใดต่างจากข้ออื่น
   ก.   กับ               
   ข.   และ
   ค.   พอ.....ก็       
   ง.   ไม่.....ก็
10.  คำสันธานในข้อใดต่างจากข้ออื่น
   ก.  หรือ              
   ข.  ไม่.....ก็
   ค.  มิฉะนั้น.....ก็     
     ง.  เพราะ.....จึง

  
คำอุทาน     คือ  คำพวกหนึ่งที่ผู้พูดเปล่งออกมาผิดจากเสียงของคำธรรมดา  แสดงอารมณ์  ความรู้สึก  หรือต้องการให้ผู้ฟังทราบ  แต่ไม่มีความหมาย

เพลงคำอุทาน
        เปรี้ยง  เปรี้ยง  เสียงฟ้าลั่น  คำอุทานบอกเสียงธรรมชาติ 
แห่แหน  เสื่อสาด  เป็นคำอุทานเสริมบท
        อุ๊ย  ว้าย  อุ๋ย  โอย  เมื่อถูกโบยส่งเสียงร้องเหมือนกันหมด  เครื่องหมายที่ปรากฏ  อัศเจรีย์ของคำอุทาน

เพลง  คำอุทาน
                                                คำร้อง  จริยา  จงจิระศิริ
                                                                 ทำนอง  จับมือกันไว้
        มารื่นเริงกันไว้นะพวกเรา          อย่าได้ซบเซาและเศร้าใจ
เรามาศึกษาภาษาไทย                      พวกคำที่เราใช้เปล่งออกมา
เช่น  โอ้โฮ!  อนิจจา!  น่าสงสาร          ครืน  ครืน  เอ๊ะ! อุ๊ย!  และซ่า  ซ่า
คำเหล่านี้ใช้กันทุกวันมา                   เขากำหนดไว้ว่าคำอุทาน
อันอุทานแยกไว้เป็นสามข้อ               มีอุทานซึ่งเลียนเสียงธรรมชาติ
อีกอุทานเสริมบทมีบทบาท               กับอุทานเปล่งออกมาแสดงอารมณ์

คำอุทาน  แบ่งออกเป็น    ชนิด  คือ
                ๑.     คำอุทานบอกอาการ
                ๒.     คำอุทานเสริมบท
                ๓.     คำอุทานเลียนเสียงธรรมชาติ
๑.  คำอุทานบอกอาการ  คือ  คำอุทานที่ผู้พูดเปล่งออกมา  เพื่อให้รู้อาการและ 
   ความรู้สึกต่าง ๆ  ของผู้พูด  เช่น
              ๑.  แสดงอาการร้อวเรียกหรือบอกให้รู้ตัว  ได้แก่  แนะ!  นี่แนะ!  เฮ้!  เฮ้ย!
                   ๒.  แสดงอาการโกรธเคือง  ได้แก่  เหม่!  อุเหม่!  ฮึ่ม!  ชิชะ!  ดูดู๋!
              ๓.  แสดงอาการตกใจ  ได้แก่    เอ๊ะ!    ว้าย!   ตาย!    โอ๊ะ!   
ช่วยด้วย!   คุณพระช่วย!  กรี๊ด!
๔.  แสดงอาการประหลาดใจ  ได้แก่  ฮ้า!  แหม!  โอ้โฮ!  แม่เจ้าโว้ย!
              ๕.  แสดงอาการสงสารหรือปลอบโยน  ได้แก่   โถ!  โธ่!  อนิจจัง!  พุทโธ่!
              ๖.  แสดงอาการเข้าใจหรือรับรู้  ได้แก่  อือ!  อ้อ!  เออ!  เออนะ!
              ๗.  แสดงอาการเจ็บปวด  ได้แก่  อุ๊ย!  โอย!  โอ๊ย!
              ๘.  แสดงอาการดีใจ  เช่น  ไชโย!
       
       ๒.  คำอุทานเสริมบท   แบ่งออกเป็น    ประเภท  คือ
                ๑.  คำที่กล่าวเพิ่มเติมถ้อยคำเสริมขึ้นเพื่อให้คล้องจอง  หรือมีความหมายในการพูดดีขึ้น  เพราะคนไทยชอบพูดเป็นคำคล้องจอง  แต่คำเสริมจะไม่มีความหมาย  หรือเป็นการเน้นความหมายของคำให้เด่นชัดเจน  เช่น  
                     หนังสือหนังหา  
                     ส้มสูกลูกไม้  
                     กางกุ้งกางเกง   
                     อาบน้ำอาบท่า
                     กินข้าวกินปลา 
                     ไม่รู้ไม่ชี้ 
                     สิงห์สาราสัตว์
                ๒. คำที่แทรกลงในระหว่างคำประพันธ์  คือ เป็นคำสร้อยคำที่อยู่ในบทกลอน  โคลง  เพื่อให้เกิดความสละสลวย  และให้มีคำครบถ้วนตามที่ต้องการในคำประพันธ์นั้น ๆ  คำอุทานชนิดนี้ใช้เฉพาะในคำประพันธ์  ไม่นำมาใช้ในการพูดสนทนา  เช่น  อ้า  โอ้  โอ้ว่า  แล  นา  ฤา  แฮ  เอย  เฮย
  ***ข้อสังเกต  คำอุทานเสริมบทไม่ต้องมีเครื่องหมายอัศเจรีย์กำกับ***
๓.  คำอุทานเลียนเสียงธรรมชาติ  คำอุทานชนิดนี้จัดอยู่ในประเภทอุทาน
   บอกอาการด้วย  และอาจเกิดจากสิ่งที่ไม่มีชีวิตได้  หรือเกิดจากเสียงธรรมชาติ  เช่น  ปึง!   ปัง!  ตูม!  โครม!  จ๋อม! ออดแอด!  และเวลาเขียนมักนิยมใช้เครื่องหมาย  ! (อัศเจรีย์)  กำกับไว้หลังคำอุทานนั้น
                        เสียงปืน              ปัง!    ปัง!
                        เสียงน้ำไหล          ซู่!     ซู่!
                        เสียงไก่ขัน           เอ๊ก  อิ  เอ๊ก  เอ๊ก!
             
***อย่าลืมนะจ๊ะ  หลังคำอุทาน  จะมีเครื่องหมายอัศเจรีย์ !
อยู่ข้างหลัง  ยกเว้น  อุทานเสริมบท***

มาลับสมองกันดีกว่า
แบบฝึกทักษะชุดที่ ๑

คำชี้แจง  :  เลือก   x  คำตอบที่ถูกที่สุด
      1. เครื่องหมาย ! ควรใส่หลังข้อความใด
ก.   ทำไม               
ข.   น่ารักจริง
ค.   ฮา  เฮ  ฮา        
ง.   โธ่ อนิจจา
2.  คำในข้อใดเป็นอุทานเสริมบท
ก.   มือไม้              
ข.   หยูกยา
ค.   ไปมาหาสู่         
ง.  ถูกทั้งสามข้อ   
 3.  นี่! ทำไมล่ะ  ไม่อยู่บ้านอยู่ช่อง  เที่ยวไม่ลืมหูลูมตา 
รีบไปอาบน้ำอาบท่าเสียเถอะ  
ข้อความนี้คำใดไม่ใช่คำอุทาน
      ก.  นี่  ทำไมละ        
      ข.  บ้านช่อง
ค.  ไม่ลืมหูลืมตา      
ง.  อาบน้ำอาบท่า
     4.  ข้อใดเป็นคำอุทานที่แสดงอาการ 
         ประหลาดใจ 
      ก. ว้าย! ช่วยด้วย   
      ข. เฮ้ย!พบกันอีก
 ค. เอ๊ะ! แปลกพิลึก
 ง. พุทโธ่! น่าเวทนา
 5.  ข้อความใดเป็นคำอุทานเสริมบท
ก.  ใครก็รักชีวิต
ข.  อะไรตกลงมา
ค.  ใดใดล้วนอนิจจัง 
        ง.  ไปกินข้าวกินปลาเสีย
6.  ข้อความใดกล่าวไม่ถูกต้อง
   ก.  อุทานเสริมบทต้องมีเครื่องหมายอัศเจรีย์กำกับ  
   ข.  อุทานเสริมบทกล่าวเสริมขึ้นมาโดยไม่มี 
         ความหมาย
   ค.  อุทานแสดงอาการต้องมีเครื่องหมาย
        อัศเจรีย์กำกับเสมอ
   ง.   คำอุทานเป็นคำที่เปล่งออกมาเพื่อแสดง
        อารมณ์ของผู้พูดเป็นสำคัญ   
7.  ข้อความใดมีคำอุทานเสริมบท 
   ก.   ยุงลายร้ายกว่าเสืออยู่ในป่า
   ข.   ไม้สักมีค่าทางเศรษฐกิจมาก
   ค.   เขากินน้ำกินท่าก่อนจะกลับบ้าน      
   ง.   ยางพาราปลูกมากในจังหวัดภาคใต้   
8.  คำว่า  อ๊บ  อ๊บ  ฟ่อ  ฟ่อ  
     เป็นคำประเภทใด
   ก.   บุพบท          
   ข.  อุทาน
   ค.   สันธาน         
   ง.  วิเศษณ์
9.  หลังคำอ๊บ  อ๊บ  ฟ่อ  ฟ่อ  
     ควรใส่เครรื่องหมายใด
   ก.   ?                 
   ข.   !
   ค.   ......             
   ง.  
10. นิสัยคนไทยทุกบ้านใครมาเรือนชาน
      อาศัยต้อนรับขับสู้ใส่ใจน้ำดื่มส่งให้
      ทักทาย   ข้อความนี้มีคำอุทานกี่คำ
   ก.    คำ            
   ข.    คำ
   ค.    คำ                    ง.    คำ

แบบฝึกทักษะชุดที่ ๑

คำชี้แจง  :  เลือก   x  คำตอบที่ถูกที่สุด
      1. เครื่องหมาย ! ควรใส่หลังข้อความใด
ก.   ทำไม               
ข.   น่ารักจริง
ค.   ฮา  เฮ  ฮา        
ง.   โธ่ อนิจจา
2.  คำในข้อใดเป็นอุทานเสริมบท
ก.   มือไม้              
ข.   หยูกยา
ค.   ไปมาหาสู่         
ง.  ถูกทั้งสามข้อ   
 3.  นี่! ทำไมล่ะ  ไม่อยู่บ้านอยู่ช่อง  เที่ยวไม่ลืมหูลูมตา 
รีบไปอาบน้ำอาบท่าเสียเถอะ   ข้อความนี้คำใดไม่ใช่คำอุทาน
      ก.  นี่  ทำไมละ        
      ข.  บ้านช่อง
 ค.  ไม่ลืมหูลืมตา      
 ง.  อาบน้ำอาบท่า
     4.  ข้อใดเป็นคำอุทานที่แสดงอาการ 
         ประหลาดใจ 
     ก. ว้าย! ช่วยด้วย   
     ข.  เฮ้ย!พบกันอีก
ค. เอ๊ะ! แปลกพิลึก
ง.  พุทโธ่! น่าเวทนา
 5.  ข้อความใดเป็นคำอุทานเสริมบท
ก.  ใครก็รักชีวิต
ข.  อะไรตกลงมา
ค.  ใดใดล้วนอนิจจัง 
        ง.  ไปกินข้าวกินปลาเสีย
6.  ข้อความใดกล่าวไม่ถูกต้อง
   ก.  อุทานเสริมบทต้องมีเครื่องหมายอัศเจรีย์กำกับ  
   ข.  อุทานเสริมบทกล่าวเสริมขึ้นมาโดยไม่มี 
         ความหมาย
   ค.  อุทานแสดงอาการต้องมีเครื่องหมาย
        อัศเจรีย์กำกับเสมอ
   ง.   คำอุทานเป็นคำที่เปล่งออกมาเพื่อแสดง
        อารมณ์ของผู้พูดเป็นสำคัญ   
7.  ข้อความใดมีคำอุทานเสริมบท 
   ก.   ยุงลายร้ายกว่าเสืออยู่ในป่า
   ข.   ไม้สักมีค่าทางเศรษฐกิจมาก
   ค.   เขากินน้ำกินท่าก่อนจะกลับบ้าน      
   ง.   ยางพาราปลูกมากในจังหวัดภาคใต้   
8.  คำว่า  อ๊บ  อ๊บ  ฟ่อ  ฟ่อ  
     เป็นคำประเภทใด
   ก.   บุพบท          
   ข.  อุทาน
   ค.   สันธาน         
   ง.  วิเศษณ์
9.  หลังคำอ๊บ  อ๊บ  ฟ่อ  ฟ่อ  
     ควรใส่เครรื่องหมายใด
   ก.   ?                 
   ข.   !
   ค.   ......             
   ง.  
10. นิสัยคนไทยทุกบ้านใครมาเรือนชาน
      อาศัยต้อนรับขับสู้ใส่ใจน้ำดื่มส่งให้
      ทักทาย   ข้อความนี้มีคำอุทานกี่คำ
   ก.    คำ            
   ข.    คำ
   ค.    คำ              
     ง.    คำ

แบบฝึกทักษะชุดที่๒
คำชี้แจง  :  เลือก   x  คำตอบที่ถูกที่สุด
      1. ข้อความใดเป็นคำอุทานบอกอาการเสียใจ
ก.   ว้าว!                 
ข.   โอ๊ย!
ค.   ชิชะ!                
ง.   อนิจจา!  
2.  คำในข้อใดไม่มีอุทานเสริมบท
ก.   เสือสางที่ไหนกัน
ข.   เขาดูเป็นผู้หลักผู้ใหญ่
ค.   ของชิ้นนี้มีขนาดกะทัดรัดดี
ง.    น้องเอาเสื่อสาดมาปูนอนที่ใต้ต้นไม้ 
 3.  ข้อความใดเป็นคำอุทานบอกอาการสงสาร
     ก.  ไชโย!ชนะแล้ว     
     ข.  โถ!ไม่น่าเลย
ค.  โอ้โฮ!สวยจังเลย  
ง. ว้า!พลาดอีกแล้ว
     4.  ข้อใดใช้คำอุทานถูกต้องตามความหมาย 
     ก. ว้าย! ดีใจจัง
     ข.  โอ้โฮ! แต่งตัวสวยจัง
ค.  พุทโธ่! ฉันไม่ชอบนะ
ง.  อนิจจา! ฉันสอบได้ที่ 
 5.  ข้อความใดใช้คำอุทานไม่ถูกต้อง
ก.  โอ๊ย!  เจ็บแผลจัง
ข.  อนิจจา!  ไม่น่าเลย
ค.  ช่วยด้วย!  ไฟไหม้
        ง.  โอ้โฮ!  ฉันชนะแล้ว
    6.  ข้อความใดเป็นอุทานเสริมบท
        ก.  ว้าย!  ไชโย!  
        ข.  พูดจาปราศรัย
        ค.  หนังสือหนังหา  พุทโธ่!
        ง.  ล้างไม้ล้างมือ  อาบน้ำอาบท่า
7.  ข้อความใดมีคำอุทานเสริมบท 
   ก.   ช่วยด้วย! เด็กตกน้ำ
   ข.   ส้มผลนี้ใหญ่มากนะจ๊ะ
   ค.   พอเขาล้มตัวนอนก็หลับสนิท 
   ง.   เธอควรอ่านหนังสือหนังหาบ้างนะ    
8.  ข้อความใดใช้คำอุทานไม่เหมาะสม
   ก.   โธ่!  ไม่น่าเลย
   ข.   โอ๊ย!  เจ็บจังเลย
   ค.   เย้!  ใครเป็นคนทำแตก                   ง.     
   ง.   ตายแล้ว!  ทำไมเป็นอย่างนี้
9.  ข้อความใดไม่มีคำอุทาน  
   ก.   เสียงฤาเสียงเล่าอ้าง    อันใด  พี่เอย 
   ข.   เสียงย่อมยอยศใคร     ทั่วหล้า
   ค.   สองเขือพี่หลับไหล     ลืมดื่น  ฤาพี่  
   ง.   สองพี่คิดเองอ้า          อย่าได้ถามเผือ
10.  ข้อความใดมีคำอุทานเสริมบท
   ก.  น้องน่าจะสอบได้ที่ 
   ข.  วันนี้เขาหายไปไหนนะ
   ค.  ซื้อส้มสูกลูกไม้มาหรือยัง
   ง.   เธออย่าขโมยขนมของฉันนะ



เพลง  คำพ้องเสียง
คำพ้องเสียงมีเสียงเหมือนกัน                   อ่านเหมือนกันเขียนต่างกัน
ความหมายมันต้องดูให้ดี                                       เหล่านี้จำให้มั่น
            จัณฑ์  ไม้จันทน์  โน่นแนะ  ดวงจันทร์      นี่พืชพันธุ์  นั่นผูกพัน
คั่น และ ขั้น  ก็แตกต่างกัน                                      เธอกับฉันต้อง




                                                 เพลงคำพ้องรูป

      คำพ้องรูปเขียนรูปเหมือนกัน                 ความหมายมันผันเวียนเพี้ยนไป   เป็นหลายคำสำเนียงเสียงใดออกเสียงไม่เหมือนกันขันดี  เพลารถยนต์  พักเพลาเย็น  เสลาเป็นเสลาทันที  โคลงเรือเรือโคลงเคลงซี  จอกแหนมีแหนมาร็วไว  (หล่า  หล่า  ลา  ล้า  หล่า  ลา  หลัา  ลา  ลา  ลา  =  4  รอบ)

                                    เพลงการใช้พจนานุกรม

·       อ่านผิด  เขียนผิด  เวลาเราติดเรื่องภาษาไทย  หรืออยากจะรู้
ความหมายของภาษไทย  ควรใช้ให้ถูก  เรียงคำตามกันไป  ตั้งแต่ ก – ฮ 
เปิดหาค้นกันให้ถูก  ในหนังสือพจนานุกรม


คำชี้แจง  :  จงเรียงลำดับคำตามพจนานุกรม  ให้ถูกต้อง

1.         แส้       เสน่ห์  ก๊อกน้ำ     เบน     โชคดี
·       …………………………………………

2.         จวัก     รวงรัง     จ้า     เหน็บ     สลัว
·       …………………………………….......

3.         กำนัน     กิ้งก่า     กำกับ     กิโลกรัม     กำปั่น
·       ………………………………………...

4.         ผาสุก     ผนัง     ผกา     ผง     ผัดวัน
·       ………………………………………..

5.         เอกเขนก    อีมู     อินเดีย    เอ็นดู     อุตุ
·       ……………………………………......

คำชี้แจง  :  จงเรียงลำดับคำตามพจนานุกรม  ให้ถูกต้อง

1.         ริมน้ำ              ตากผ้า                        ท่าน้ำ              งอบ            ปั้นลม
·     …………………………………………………………………………………..........
2.         ทรงสูง           ลูกศิษย์           สนทนา          อาโก              นิมนต์
·     ………………………………………………………………........
3.         ทำไร่               ธัญญาหาร     ละแวก           หมู่บ้าน          ผีพาย
·    ……………………………………………………………………
4.         หนุ่มสาว        ประเพณี        ท้องร่อง         กฐิน                ดักปลา
·      …………………………………………………………………...
5.         ลำคลอง         หนองน้ำ        อดอยาก         ขนัด                ผัดไทย
·      ……………………………………………………………………
6.         ศิลปิน             บวงสรวง      ผุพัง                กล้วยตานี      รมควัน
·       .......................................................................................................
7.         บายศรี            ศพ                  กลางคืน         ตำรา               หยวกกล้วย  
·      ........................................................................................................
8.         กันฝน             หาบของ        ดูดซึม             สมุนไพร        ชะพลู
·      ........................................................................................................
9.         ขันนอต          บอระเพ็ด      มะแว้ง            ชันตุ                สรรพคุณ
·      ........................................................................................................
10.       ขี้ผึ้ง                ปวดฟัน          มะกรูด           พยาธิ              ชาดก
·      .........................................................................................................